วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Constutation Day


วันรัฐธรรมนูญ

เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี


รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ
 

 ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย


 ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ


 สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง  

           1.พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  

           2.หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  

           3.อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  

           4. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           
 - พระมหากษัตริย์
         
           
 - สภาผู้แทนราษฎร
         
           
 - คณะกรรมการราษฎร
         
           
 - ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้



           >>>รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งหมด 18 ฉบับ ^^


          รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ราชอาณาจักรไทย ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาตามลำดับ



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ฉบับปัจจุบัน)

 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในปี 2549-2550 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศ โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ" (คมช.) โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา และมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

  โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว มีการเผยแพร่ให้ประชาชนได้ลงประชามติว่าจะยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่ ในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่เห็นชอบ

  อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเป็นการเผชิญหน้าทั้งจากฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ และฝ่ายที่ต่อต้าน รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นขั้นตอนการร่าง เช่น ประชานไม่ได้มีส่วนร่วมในรัฐธรรมนูญฉบับนี้  การที่ คมช. ผูกขาดการสรรหาสมาชิก สสร. และในเนื้อหาสาระของร่างก็มีประเด็น เช่น มีการกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่งของจำนวนมาจากการแต่งตั้ง รวมถึงการนิรโทษกรรม คมช. เองสำหรับการก่อรัฐประหาร เป็นต้น
 ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกแก้ไขสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีประเด็นที่แก้ไขคือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และข้อกำหนดในการทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)

กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ

 1.มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน


 2.มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ

Daddy's Day





พระคุณพ่อ

เลิศฟ้า

มหาสมุทร
พระคุณพ่อ
สูงสุด
มหาศาล
พระคุณพ่อ
เลิศหล้า
สุธาธาร
ใครจะปาน
พ่อฉัน
นั้นไม่มี



วันพ่อแห่งชาติ  นับวาเป็นวันที่สำคัญยิ่งสำหรับลูกๆทุกคน  ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็น วันชาติ อีกด้วย
>>ดิฉันได้เข้าร่วมงานวันพ่อแห่งชาติที่โรงเรียน มีหน่วยงานหลายหน่วยงานในตำบลกองก๋อยและตำบลใกล้เคียงเข้าร่วมทำกิจกรรม อาทิเช่น องค์การบริหารส่วนตำบลกองก๋อย องค์การบริหารส่วนตำบลป่าโปง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกองก๋อย และ สถานีตำรวจตำบลกองก๋อย


กิจกรรมที่ปฎิบัติในงานวันพ่อแห่งชาติ ปี 2556 ครั้งนี้

1.มีการประดับธงชาติและธงพระปรมาภิไธยในทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ โรงเรียน บริษัท และบ้านเรือน เพื่อถวายพระพรให้พระองค์มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

2.มีการลงนามถวายพระพร

3.ทำบุญใส่บาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และระลึกถึงพระคุณของพ่อ




     



เรามารู้จักประวัติความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ กันนะ!!


ความเป็นมาของ วันพ่อแห่งชาติ (โดยย่อ)

วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม


หลักการและเหตุผลในการจัดตั้ง วันพ่อแห่งชาติ

โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและ สังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น วันพ่อแห่งชาติ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวมทั้งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุ เรืออากาศเอกวีรยุทธ ดิษยศริน พระสวามีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์วลัยลักษณ์และพระเจ้าหลาน เธอทุกพระองค์ ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น พ่อ ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรวงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ 


ซึ่งนอกจากพระองค์จะเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงทะนุบำรุงพระราชโอรสธิดาด้วยความรัก และทรงอบรมอนุศาสน์ให้ทรงเจริญวัยสมบูรณ์ และทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทแล้ว พระองค์ยังทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงจัดทุกข์ผดุงสุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติ ที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้วัฒนาถาวรสืบไป




ดอกพุทธรักษา สัญลักษณ์วันพ่อแห่งชาติ

      คณะกรรมการจัดงานวันพ่อแห่งชาติได้กำหนดให้ดอกพุทธรักษาดอกไม้ที่มีนามเป็นมงคลนี้เป็นสัญลักษณ์





วัตถุประสงค์ของการจัดวันพ่อแห่งชาติ

1. เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2. เพื่อเทิดทูนพระณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม
3. เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูต่อพ่อ
4. เพื่อให้ผู้เป็นพ่อได้สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน



หน้าที่ของบุตรพึงมีต่อบิดามารดา

  • เลี้ยงดูบิดามารดาเป็นการตอบแทน เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่าอย่าปล่อยให้ท่านอดรันทดใจในวัยชรา
  • ช่วยทำกิจการงานของท่าน ไม่นิ่งดูดายเป็นคนไร้น้ำใจเข้าไปช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่
  • ดำรงวงศ์ตระกูล ไม่ทำตระกูลให้เสื่อมและเสียหาย
  • ประพฤติตนให้สมควรได้รับทรัพย์มรด ประพฤติตนให้ท่านไว้ใจและวางใจ ที่จะครอบครองสมบัติ
  • ท่านเจ็บป่วยต้องรักษา ท่านมรณาต้องทำศพให้ ทำความปรารถนาของพ่อแม่มิให้พังทลาย


วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

"การพิจารณาคุณค่าวรรณคดี"


ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เรื่อง"การพิจารณาคุณค่าวรรณคดี"



การพิจารณาคุณค่าวรรณคดี

            งานประพันธ์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น  โดยสื่อความคิดที่ต้องการถ่ายทอดผ่านทางสื่อภาษา ผู้อ่านจะได้รับความสนุกสนานเพลินเพลินจากเนื้อเรื่อง ได้อารมณ์สุนทรีย์จากถ้อยคำสำนวนโวหารที่ไพเราะสละสลวย  เรียกว่า เป็นบทประพันธ์ที่คุณค่าอย่างมากในด้านวรรณศิลป์ นอกจากนั้น ผู้อ่านยังได้รับอาหารสมอง จากความรู้ความคิด คติธรรม ทรรศนะ ความเชื่อที่สอดแทรกในเนื้อเรื่อง หากผู้อ่านมีความตั้งใจที่จะศึกษาวรรณคดีและทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ เรื่องราวและข้อคิดที่ได้จักเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวัน
    การพิจารณาคุณค่าวรรณคดี มีหัวข้อในการพิจารณา 4 หัวข้อ ดังนี้
    .คุณค่าด้านวรรณศิลป์
    คุณค่าด้านเนื้อหา
    ๓ คุณค่าด้านสังคม
    .คุณค่าด้านการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

    เรามาดูการพิจารณาคุณค่า[ด้านวรรณศิลป์] กันก่อนนะคะ
            วรรณศิลป์ มีความหมาย ตามพจนานุกรรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ว่า ศิลปะในการแต่งหนังสือ,ศิลปะทางวรรณกรรม,วรรณกรรมที่ถึงขั้นวรรณคดี,หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดี
            จากความหมายนี้เอง การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์จึงต้องศึกษาตั้งแต่การเลือกชนิดคำประพันธ์ให้เหมาะสมกับประเภทของงานเขียน การรู้จักตกแต่งถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวยอันเป็นลักษณะเฉพาะของภาษากวี และทำให้ผู้อ่านเกิดความสะเทือนอารมณ์
            ภาษากวีเพื่อสร้างความงดงามไพเราะแก่บทร้อยแก้วหรือร้อยกรองนั้น มีหลักสำคัญที่เกี่ยวข้องกัน ๓ ด้าน ดังนี้
      1.การสรรคำ
                 
                  การสรรคำ คือการเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร และรูปแบบคำประพันธ์ การสรรคำทำได้ดังนี้
        - การเลือกคำให้เหมาะแก่เนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
        - การใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมาย
        - การเลือกใช้คำพ้องเสียง คำซ้ำ
        - การเลือกใช้คำโดยคำนึงถึงเสียงสัมผัส
        - การเลือกใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ
        - การเลือกใช้คำไวพจน์ได้ถูกต้องตรงตามความหมาย



      2.การเรียบเรียงคำ


                    การเรียบเรียงคำ คือการจัดวางคำที่เลือกสรรแล้วให้มาเรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่องตามจังหวะ ตามโครงสร้างภาษ หรือตามฉันทลักษณ์ ซึ่งมีหลายวิธีเช่น
        - จัดลำดับความคิดหรือถ้อยคำจากสิ่งสำคัญจากน้อยไปมาก จนถึงสิ่งสำคัญสูงสุดอันเป็นจุดสุดขั้น
        - จัดลำดับความคิดหรือถ้อยคำจากสิ่งสำคัญน้อยไปหามาก แต่กลับหักมุมความคิดผู้อ่านเมื่อถึงจุดสุดขั้น
        - จัดลำดับคำให้เป็นคำถามแต่ไม่ต้องการคำตอบหรือมีคำตอบอยู่ในตัวคำถามแล้ว
        - เรียงถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านแปลความหมายไปในทางตรงข้ามเพื่อเจตนาเยาะเย้ย ถากถาง
        - เรียงคำวลี ประโยค ที่มีความสำคัญเท่าๆกัน เคียงขนานกันไป

        
      3.การใช้โวหาร


                   การใช้โวหาร คือการใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพเรียกว่า ภาพพจน์” ซึ่งมีหลายวิธีที่ควรรู้จัก ได้แก่

        - อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยมีคำเปรียบปรากฏอยู่ด้วย คำเปรียบเทียบเหล่านี้ได้แก่ เหมือน เสมือน ดุจ เล่ห์ เฉก ดัง กล เพียง ราว ปูน
        - อุปลักษณ์  คือการเน้นความหมายว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งมาก จนเหมือนกับเป็นสิ่งเดียวกัน โดยมีคำเปรียบ เป็น คือ เท่า ปรากฏในข้อความ
        - บุคคลวัต  คือ การสมมุติสิ่งต่างๆให้มีกริยาอาการ ความรู้สึกเหมือนมนุษย์
        - อธิพจน์  คือการกล่าวเกินจริง เพื่อเน้นข้อความนั้นให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น บางครั้งอาจใช้คำกล่าวน้อยกว่าจริงเรียกว่า อวพจน์
          

    แนวทางการพิจารณาคุณค่า[ด้านเนื้อหา]
       ความหมายของเนื้อหา (Content) คล้ายคลึงกับเนื้อเรื่อง(Story) แต่มีข้อต่างกันดังนี้
    -เนื้อเรื่อง ของงานประพันธ์ หมายถึงเรื่องราวที่กล่าวไว้ในงานประพันธ์นั้นๆ
    -เนื้อหา มีความหมายแคบกว่าเนื้อเรื่อง กล่าวคือหมายถึงใจความสำคัญ หรือสาระสำคัญที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง
           การพิจารณาเนื้อหาของงานประพันธ์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง จึงหมายถึงการพิจารณาแนวคิด สาระ ค่านิยม ฯลฯ ที่ปรากฏในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้งลักษณะของงานประพันธ์โดยทั่วไป แบ่งตามลักษณะของเนื้อหาออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆคือบันเทิงคดี และสารคดี


     การพิจารณาคุณค่าวรรณคดี[ด้านสังคม]
การพิจารณาคุณค่าวรรณคดีด้านสังคมแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะใหญ่ๆดังนี้

    ๑.ด้านนามธรรม

     ได้แก่
      ความดี
      ความชั่ว
      ค่านิยม
      จริยธรรมของคนในสังคม
                                                         

    ๒.ด้านรูปธรรม

    ได้แก่
      สภาพความเป็นอยู่
      วิถีชีวิต
      การแต่งกาย
      และการก่อสร้างทางวัตถุ


    การพิจารณาคุณค่าวรรณคดีต่อ [การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน]
               วรรณคดีทุกเรื่อง นอกจากจะมีหน้าที่หลัก คือ ให้ความบันเทิงใจแล้ว ยังเป็นอาหารสมองที่สำคัญแก่ผู้อ่านด้วย แม้จุดมุ่งหมายในการแต่งวรรณคดีแต่ละเรื่องจะแตกต่างกัน เช่น การอ่านวรรณคดีประเภทยอพระเกียรติ ย่อมได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ้านเมือง อันเป็นเหตุการณ์ตอนใดตอนหนึ่งของประวัติศาสตร์
             วรรณคดีประเภทคำสอน เช่น สุภาษิตต่างๆ ย่อมสัมพันธ์กับศาสนา ปรัชญา และจริยศาสตร์เพราะศาสนาเป็นเรื่องของศรัทธาความเชื่อ ปรัชญาเป็นเรื่องของการตรวจสอบประสบการณ์ชีวิต ซึ่งอาจเป็นของกวีเองหรือของสังคมสมัยนั้นๆ ส่วนจริยศาสตร์เป็นสัจธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาของคนในสังคม การอ่านวรรณคดีประเภทสุภาษิต จึงได้ประโยชน์ในการได้ศึกษาแนวทางการประพฤติปฏิบัติ ที่ทำให้ผู้อ่านได้เห็นสัจธรรมอันเป็นที่ยอมรับกันมาแล้วในสังคม ในขณะที่เราอ่าน
                    วรรณคดีประเภทนี้ เราจะไม่รู้สึกว่ากำลังถูกสอนโดยตรง และผู้อ่านอาจจะไม่เห็นด้วยกับผู้เขียน ทั้งนี้เพราะความแตกต่างกันในเรื่องวัยวุฒิ คุณวุฒิและประสบการณ์ต่อเมื่อเราได้ผ่านประสบการนั้นๆบ้าง ผู้อ่านจะเห็นคุณค่าของภาษิตต่างๆ

              การอ่านวรรณคดีประเภทสุภาษิตสามมารถตีความและสรุปเป็นแง่คิดได้เกือบทุกส่วน ผู้เขียนจะสื่อสารถึงผู้อ่านโดยตรง โดยไม่ผ่านตัวละคร หรือพฤติกรรมตัวละครเหมือนวรรณคดีประเภทอื่นๆ ดังนั้น เมื่อถึงอ่านเรื่องใดก็สามารถทำความเข้าใจและสรุปให้จบเป็นเรื่องๆได้